งานวิจัยในระยะหลังชี้ให้เห็นว่าชนิดของอาหารและรับประทานและจุลินทรีย์ในลำไส้มีส่วนควบคุมการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยพบว่ากรดไขมัน (fatty acids)ในอาหารมีผลต่อการพัฒนาของ
T cells ในทางเดินอาหาร โดย shot-chain fatty acids เพิ่ม regulatory T cell differentiation ในขณะที่ long-chain
fatty acids ส่งเสริม Th1/Th17 differentiation
ทำให้เพิ่มความรุนแรงของการเกิดสมองอักเสบในสัตว์ทดลอง นอกจากนั้นยังพบว่า
เด็กที่อยู่ในชนบทของประเทศ Burkina Faso ในทวีปแอฟริกา มีจำนวนเชื้อในตระกูล
Bacteroides (เช่น เชื้อในกลุ่ม Prevotella ซึ่งมีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสจากอาหารพวกไฟเบอร์) ต่อเชื้อในตระกูล Enterobacteriaceae ในอุจจาระในสัดส่วนที่มากกว่าเมื่อเทียบกับเด็กในสหภาพยุโรป โดยเป็นผลจากชนิดของอาหารที่แตกต่างกันทำให้ชนิดของแบคทีเรียในลำไส้มีความแตกต่างกัน
และพบว่าแบคทีเรียกลุ่ม Clostridia ส่งเสริม การทำงานของ mucosal regulatory
T cells ในขณะที่ segmented filamentous bacteria กระตุ้นการพัฒนาของ Th17 cells