ผลการวิจัยวัคซีนภูมิแพ้ชนิดรับประทานต่อผลการป้องกันการเกิดโรคหืดในผู้ป่วยที่แพ้เกสรหญ้า

   คณะผู้วิจัยได้ทำการติดตามผลของการให้วัคซีนภูมิแพ้ชนิดรับประทานในผู้ที่แพ้เกสรหญ้าเทียบกับการให้ยาหลอกเพื่อศึกษาผลกระทบต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหืด โดยทำการศึกษาในเด็กอายุระหว่าง 5-12 ปีจำนวน 812 ราย ที่มีประวัติเป็นโรคจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้จากเกสรหญ้าที่ยังไม่มีอาการของโรคหืด มาเข้าอยู่ในการวิจัยชนิดสุ่ม (randomized, double-blind, placebo-controlled trial) เพื่อรับวัคซีนภูมิแพ้เป็นเวลา 3    ปี และติดตามผลต่อเนื่องอีก 2 ปี
            ผลการวิจัยพบว่าไม่มีความแตกต่างของช่วงระยะเวลาที่ติดตามจนเกิดโรคหืด แต่พบว่าการให้วัคซีนภูมิแพ้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการหืดและการใช้ยารักษาโรคหืดอย่างมีนัยสำคัญเมื่อประเมินที่เมื่อสิ้นสุดการให้วัคซีน (odd ratio=0.66, p<0.036), ระหว่าง 2 ปีที่ติดตามหลังหยุดให้วัคซีน และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผู้ป่วยที่ระยะเวลา 5 ปี โดยพบว่าผู้ป่วยจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้มีอาการลดลง 22.30% (P<0.005 ตลอดเวลา 5 ปี)  เมื่อสิ้นสุดการวิจัย ผู้ได้รับวัคซีนมีการใช้ยารักษาภูมิแพ้ลดลง 27% เมื่อเทียบกลับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (P<0.001) และมีระดับของ serum total IgE และผลการทดสอบภูมิแพ้เกสรหญ้าที่ผิวหนังเป็นบวกน้อยลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
     ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ชนิดรับประทานสามารถลดความเสี่ยงของอาการหืดและการใช้ยารักษาโรคหืด และมีผลดีต่ออาการทางคลินิกและอัตราการใช้ยาของผู้ป่วยโรคจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้